กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ)
กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช มีเป้าหมายที่จะปกปักพื้นที่ป่าธรรมชาติ นอกเขตพื้นที่รับผิดชอบของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้แก่ป่าในสถาบันการศึกษา ป่าในศูนย์วิจัยและสถานีทดลอง ป่าที่ประชาชนร่วมใจกันปกปัก ซึ่งเมื่อรักษาป่าธรรมชาติไว้ก็จะรักษาพันธุกรรมดั้งเดิมในแต่ละพื้นที่โดยมีเป้าหมายให้มีกระจายทั่วประเทศในทุกเขตพรรณพฤกษชาติ
ในการปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตในป่าของสถาบันการศึกษา ได้สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในระดับต่างๆ จัดทำโครงการปกปักป่าของสถาบัน ทำการสำรวจ ทำรหัสประจำต้น และขึ้นทะเบียนพันธุกรรมในพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้นในการปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตในป่าจังหวัด ส่วนราชการต่างๆ และหน่วยงานต่างๆ ได้ทูลเกล้าฯถวาย เช่น พื้นที่ในจังหวัดชุมพร พื้นที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น
**ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rspg.or.th/activities/index.htm
กิจกรรมงานปกปักทรัพยากรท้องถิ่นเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น
งานสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
ประชุมเชิงปฏิบัติการ
เทศบาลตำบลคลองชะอุ่นจากการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนดำเนินงานการจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น เมื่อวันที่ 2 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 คณะทำงานด้านปกปักทรัพยากรท้องถิ่นนำเสนอข้อมูลพื้นที่ป่าชุมชน ประมาณ 22,000 ไร่ และพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติในตำบลคลองชะอุ่น เข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ ปฏิบัติงานด้านปกปักทรัพยากรท้องถิ่น ดังนี้
1. ป่าชุมชนบ้านคลองชะอุ่น หมู่ที่ 1
2. ป่าชุมชนบ้านแสนสุข หมู่ที่ 2
3. ป่าชุมชนบ้านทับคริสต์ หมู่ที่ 3
4. ป่าชุมชนบ้านบางหิน หมู่ที่ 5
5. ป่าชุมชนบ้านบางเตย หมู่ที่ 7
6. ป่าชุมชนบ้านควนพน หมู่ที่ 11
7. วังปลา หมู่ที่ 1
8. ถ้ำค้างคาว หมู่ที่ 2
9. ถ้ำน้ำลอด หมู่ที่ 2
10. สำนักสงฆ์ถ้ำหินเพชร หมู่ที่ 4
11. ขุมเหมือง หมู่ที่ 8
12. ป่าอนุรักษ์บ้านศรีถาวร (ถ้ำพานทอง) หมู่ที่ 9
13. ป่าอนุรักษ์บ้านเขาเขียว หมู่ที่ 12
และได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมฯ ได้กำหนด “ป่าชุมชนบ้านทับคริสต์ หมู่ที่ 3” เป็นพื้นที่นำร่องงานปกปักทรัพยากรท้องถิ่นประจำปี พ.ศ.2556 และ ขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
อ่างบางทรายนวล |
คณะกรรมการฯงานปกปักทรัพยากรท้องถิ่นได้ดำเนินกิจกรรมการบันทึกข้อมูลและจัดทำขอบเขตพื้นที่ป่าชุมชน สำรวจเส้นทางศึกษาธรรมชาติ สำรวจข้อมูลและศึกษาข้อมูลทรัพยากรในพื้นที่ป่าชุมชน จัดทำตัวอย่างพรรณไม้ ติดตั้งรหัสพรรณไม้ และกิจกรรมการดูแลรักษา ซึ่งได้มีการดำเนินงานต่อเนื่องในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านคลองชะอุ่น หมู่ที่ 1 ป่าชุมชนบ้านแสนสุข หมู่ที่ 2 ป่าชุมชนบ้านทับคริสต์ หมู่ที่ 3 ป่าชุมชนบ้านบางหิน หมู่ที่ 5 และพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ของตำบลคลองชะอุ่นอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
เทศบาลฯได้มีการปรับแนวทางเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและความตระหนักรู้ให้กับประชาชน โดยกำหนดให้บุคลากรของเทศบาลฯ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกับภาคประชาชนมากขึ้น เช่น การมอบหมายให้พนักงานกองคลังร่วมกับคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านคลองชะอุ่น หมู่ที่ 1 ดำเนินงานร่วมกันตามกรอบกิจกรรมเพราะบุคคลากรของเทศบาลฯส่วนใหญ่ เป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองชะอุ่น จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในขยายผลเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสืบไป
![]() |
|
![]() |
![]() |